วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

Messi_the soccer inspiration for me :D




วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

๏~* Cool Paintings *~๏

From my Friend FWM: P'Mali.




   

     

     

     


     


       


  
    
     

“ผ่านโตเกียว 0 องศา : Trans - Cool TOKYO”งานสะสมศิลปร่วมสมัยจากฯญี่ปุ่นเดินทางสู่ไทย

 Press Release (for English please scroll down)
ปฏิทินข่าว ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

“ผ่านโตเกียว 0 องศา : Trans - Cool TOKYO”

tokyo 2








วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 - 28 มีนาคม 2553 | แถลงข่าวในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 16.30 น. | 10.00 น. – 21.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 


ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครและพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยโตเกียว นำเสนอนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยญี่ปุ่นด้วยผลงานกว่า ๓๐ ชิ้นจากงานสะสมของพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยโตเกียวกว่า ๔,๐๐๐ ชิ้น นิทรรศการนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการส่งเสริมวัฒนธรรม เพื่อสร้างเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของกระทรวงวัฒนธรรมและโครงการสนับสนุนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จากมูลนิธิโตเกียว


จากผลงานป๊อปอาร์ตในช่วงแรกของศิลปินที่มีชื่อเสียงอย่าง ยาโยอิ คุซะมะ และผลงานสื่อภาพลักษณ์อันหลากหลายของ มอริมุระ ยาสุมะสะ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการสร้างสรรค์อัตลักษณ์ ใหม่ของศิลปินญี่ปุ่น โดยเฉพาะในบทบาทที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมสมัยนิยมในช่วงหลังของศตวรรษที่ ๒๐ แก่นสำคัญของนิทรรศการนี้เจาะลึกไปที่ผลงานสำคัญของศิลปินเช่น โยชิโตโมะ นาระ ศิลปินร่วมรุ่น รวมถึงรุ่นหลังที่ตามมาในศตวรรษเดียวกัน โดยแต่ละผลงานแสดงให้เห็นถึงการถ่ายทอดด้วยรูปแบบที่หลากหลาย เน้นแนวความคิดร่วมสมัยที่สะท้อนประเด็นของความสัมพันธ์และอัตลักษณ์ที่ไม่คงที่ ซึ่งลักษณะเฉพาะนี้เป็นผลสีบเนื่องมาจากยุคข้อมูลข่าวสาร เสรีภาพที่ขยายเติบโต ความผันผวน จากภาวะสุกงอมในระบบทุนนิยม รวมถึงการเปิดกว้างในการรับค่านิยมอย่างไม่มีข้อจำกัด





from:http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=foneko&month=09-2009&date=24&group=2&gblog=445

นิทรรศการได้แบ่งเป็น ๓ ภาค โดยภาคแรกเป็นผลงานที่มีรากฐานจากการ์ตูน หุ่นยนต์ นิยาย วิทยาศาสตร์ เรื่องราวและปรากฏการณ์แห่งยุคสมัยล่าสุดในญี่ปุ่น ศิลปินในภาคนี้คือ โยชิโตโมะ นาระ ทาคาชิ มูราคามิ และศิลปินผู้สร้างงานจิตรกรรมด้วยตุ๊กตาอย่าง มิกะ คาโต ภาคที่สอง นำเสนอ ศิลปินผู้มองหาตัวตนใหม่ในบริบทของโลกาภิวัตน์ ผ่านการทำงานในการรวบรวมความคิด การแทรกแซงและการนำเสนอสถานะ สังคมที่ดำรงอยู่ ภาคนี้ประกอบด้วยศิลปินทางด้านวิดีโออาร์ตอย่าง โคกิ ทานากะ และคาซึฮิโกะ ฮาชิยะ ศิลปิน ผู้ซึ่งนำเสนอเครื่องมือสำคัญในการดำรงชีวิตในอนาคต และภาคสุดท้ายกล่าวถึง ศิลปินผู้หยั่งรากผลงานลงบนฐานความรู้สึกผสมกับเรื่องราวในชีวิตประจำวัน แนวความคิดแบบป๊อปอาร์ตสำหรับพวกเขามี คุณประโยชน์ คล้ายเครื่องมือเพื่อการอยู่รอด โดยทำหน้าที่ในการรักษาอัตลักษณ์ ความสามารถในการรับรู้และความสัมพันธ์ ที่มี ต่อสภาวะแวดล้อม เช่นในผลงานของ ซอน อิโต ผู้ขยายความฝันลงบนผลงานผ้าปัก หรือเคียวโกะ มูราเสะ ผู้นำเสนอผลงานในแนวศิลปะเอ็กเพรสชั่นนิสม์แบบมุ่งเน้นความรู้สึกภายใน หรือผลงานของฮารุกะ โคจินผู้สร้างฉากจินตนาการจากกลีบดอกไม้และดอกไม้ประดิษฐ์ และผลงานสร้างสรรค์ผ่านสื่อหลากรูปแบบอย่าง ของคีจิโร่ อาดาจิ ศิลปินผู้เปลี่ยนตู้โทรศัพท์ที่ไม่ใช้แล้วเป็นตู้เดี่ยวดิสโก้ รวมถึงมาซะคัทสึ ทาคากิ ผู้เบี่ยงเบน จากงานวีดีโอจ๊อกกี้ สู่งานจิตรกรรมที่รังสรรค์อย่างมีชีวิตโดยการผสมผสานเข้าไปในงานวิดีโอและดนตรี


โดยรวมแล้วนิทรรศการนี้เผยให้เห็นถึงทัศนคติที่สัมผัสได้ในนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ๆ ที่ยังคงไว้ซึ่งความเคลือบแคลงสงสัยและในขณะเดียวกันยังสามารถรับรู้และแปลความหมายของวัฒนธรรมนิยมผ่านสื่อ แห่งยุคสมัย ศิลปะร่วมสมัยในนิทรรศการนี้จะส่งสารข้ามผ่านโตเกียว เสริมให้เกิดภาพลักษณ์เพื่อ สร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนอันดีที่จะเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งทวีปเอเชีย



ผ่านโตเกียว 0 องศา
ศิลปะร่วมสมัยญี่ปุ่น 

จากงานสะสมของพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยโตเกียว
25 กุมภาพันธ์ 2553 ถึง 28 มีนาคม 2553
ห้องนิทรรศการชั้น 7 

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน



ศิลปิน: โคจิน ฮารุกะ
ชื่อผลงาน: reflectwo
ปีสร้าง: 2549
เทคนิค: สื่อผสม (ดอกไม้ประดิษฐ์)
ขนาด(ซ.ม.): แปรผันตามพื้นที่

ARTIST: KOJIN Haruka
TITLE: reflectwo
YEAR: 2006
TECHNIQUE: Mixed media (artificial flowers)
DIMENSION (CM.): Size variable
--------------------

กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 
และพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยโตเกียวนำเสนอนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยญี่ปุ่น 
ด้วยผลงาน 30 กว่าชิ้นจากงานสะสมกว่า 4,000 ชิ้นของพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยโตเกียว

แก่นสำคัญของนิทรรศการนี้เจาะลึกไปที่ผลงานสำคัญของศิลปิน เช่น
โยชิโตโมะ นาระ ศิลปินร่วมรุ่น รวมถึงรุ่นหลังที่ตามมาในศตวรรษเดียวกัน 
โดยแต่ละผลงานแสดงให้เห็นถึงการถ่ายทอดด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
เน้นแนวความคิดร่วมสมัยที่สะท้อนประเด็นของความสัมพันธ์และอัตลักษณ์ที่ไม่ 
คงที่ซึ่งลักษณะเฉพาะนี้เป็นผลสีบเนื่องมาจาก ยุคข้อมูลข่าวสาร เสรีภาพที่ขยายเติบโต
ความผันผวน จากภาวะสุกงอมในระบบทุนนิยม รวมถึงการเปิดกว้าง
ในการรับค่านิยมอย่างไม่มีข้อจำกัด

----------------------------------------

นิทรรศการศิลปะจาก พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยโตเกียว 
“ผ่านโตเกียว 0 องศา” (Trans-Cool TOKYO)
เปิดให้ชมแล้ววันนี้

ผลงานศิลปะจากงานสะสมในพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยโตเกียว 
พิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกของญี่ปุ่น เดินทางมาให้คนไทยได้ชม
แล้ววันนี้ ในนิทรรศการ “ผ่านโตเกียว 0 องศา” (Trans-Cool TOKYO) 
พบงานศิลปะแห่งยุคสมัย ประติมากรรมคริสตัลอันน่าอัศจรรย์ จิตรกรรมมีชีวิต
วีดีโออาร์ต และอีกหลากหลายรูปแบบ ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพฯ – 25 กุมภาพันธ์ 2553: กระทรวงวัฒนธรรม 
ร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยโตเกียว
(Museum of Contemporary Art Tokyo) นำเสนอนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยญี่ปุ่น
“ผ่านโตเกียว 0 องศา” ด้วยผลงาน 30 กว่าชิ้นจากงานสะสมกว่า 4,000 ชิ้น
ของพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยโตเกียว โดยนายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงวัฒนธรรม และนายยูจิ คุมามารุ อัครราชทูตวิสามัญของญี่ปุ่น 
เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดนิทรรรศการดังกล่าว ซึ่งเปิดให้ผู้สนใจ
เข้าชมระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ถึง 28 มีนาคมศกนี้ ณ 
ห้องนิทรรศการชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

จากผลงานป๊อปอาร์ตในช่วงแรกของศิลปินที่มีชื่อเสียง อย่าง ยาโย
อิ คุซะมะ และผลงานสื่อภาพ-ลักษณ์อันหลากหลายของ 
มอริมุระ ยาสุมะสะ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการสร้างสรรค์อัตลักษณ์ใหม่
ของศิลปินญี่ปุ่น โดยเฉพาะในบทบาทที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมสมัยนิยม
ในช่วงหลังของศตวรรษที่ 20 แก่นสำคัญของนิทรรศการเจาะลึกไป
ที่ผลงานสำคัญของศิลปินเช่น โยชิโตโมะ นาระ ศิลปินร่วมรุ่น 
รวมถึงรุ่นหลังที่ตามมาในศตวรรษเดียวกัน โดยแต่ละผลงานแสดง
ให้เห็นถึงการถ่ายทอดด้วยรูปแบบที่หลากหลาย เน้นแนวความคิดร่วมสมัย
ที่สะท้อนประเด็นของความสัมพันธ์และอัตลักษณ์ที่ไม่คงที่ ซึ่งลักษณะ
เฉพาะนี้เป็นผลสีบเนื่องมาจากยุคข้อมูลข่าวสาร เสรีภาพที่ขยายเติบโต
และความผันผวนจากภาวะสุกงอมในระบบทุนนิยม รวมถึงการเปิดกว้าง
ในการรับค่านิยมอย่างไม่มีข้อจำกัด 

นิทรรศการแบ่งเป็น 3 ภาค โดยภาคแรกเป็นผลงานที่มีรากฐานจาก 
การ์ตูน หุ่นยนต์ นิยาย วิทยาศาสตร์ เรื่องราว และปรากฏการณ์แห่ง
ยุคสมัยล่าสุดในญี่ปุ่น ศิลปินในภาคนี้คือ โยชิโตโมะ นาระ ทาคาชิ มูราคามิ 
และศิลปินผู้สร้างงานจิตรกรรมด้วยตุ๊กตา อย่าง มิกะ คาโต ภาคที่สอง 
นำเสนอศิลปินผู้มองหาตัวตนใหม่ในบริบทของโลกาภิวัตน์ ผ่านการทำงาน
ในการรวบรวมความคิด การแทรกแซง และการนำเสนอสถานะสังคมที่ดำรงอยู่ 
ภาคนี้ประกอบด้วยศิลปินทางด้านวิดีโออาร์ตอย่าง โคกิ ทานากะ 
และคาซึฮิโกะ ฮาชิยะ ศิลปินผู้ซึ่งนำเสนอเครื่องมือสำคัญในการดำรงชีวิตในอนาคต
และภาคสุดท้ายกล่าวถึง ศิลปินผู้หยั่งรากผลงานลงบนฐานความรู้สึก 
ผสมกับเรื่องราวในชีวิตประจำวัน แนวความคิดแบบป๊อปอาร์ตสำหรับพวกเขา
มีคุณประโยชน์คล้ายเครื่องมือเพื่อการ อยู่รอด โดยทำหน้าที่ในการรักษาอัตลักษณ์ 
ความสามารถในการรับรู้ และความสัมพันธ์ที่มีต่อสภาวะ- แวดล้อม เช่น ผลงานของ
ซอน อิโต ผู้ขยายความฝันลงบนผลงานผ้าปัก หรือเคียวโกะ มูราเสะ
ผู้นำเสนอผลงานในแนวศิลปะเอ็กเพรสชั่นนิสม์แบบมุ่งเน้นความรู้สึกภายใน 
หรือผลงานของ ฮารุกะ โคจิน ผู้สร้างฉากจินตนาการจากกลีบดอกไม้และดอกไม้
ประดิษฐ์และผลงานสร้างสรรค์ผ่านสื่อหลากรูปแบบอย่างของ คีจิโร่ อาดาจิ 
ศิลปินผู้เปลี่ยนตู้โทรศัพท์ที่ไม่ใช้แล้วเป็นตู้เดี่ยวดิสโก้ รวมถึงมาซะคัทสึ ทาคากิ 
ผู้เบี่ยงเบนจากงานวีดีโอจ๊อกกี้สู่งานจิตรกรรมที่รังสรรค์อย่างมีชีวิต 
โดยการผสมผสานเข้าไปในงานวิดีโอและดนตรี
โดยรวมแล้วนิทรรศการนี้เผยให้เห็นถึงทัศนคติที่สัมผัสได้ในนักสร้างสรรค์
รุ่นใหม่ๆ ที่ยังคงไว้ซึ่งความ เคลือบแคลงสงสัย และในขณะเดียวยังสามารถรับรู้
และแปลความหมายของวัฒนธรรมนิยมผ่านสื่อแห่งยุค สมัย ศิลปะร่วมสมัยใน
นิทรรศการนี้จะส่งสารข้ามผ่านโตเกียวเสริมให้เกิดภาพลักษณ์ เพื่อ
สร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนอันดีที่จะเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งทวีป 
เอเชียนิทรรศการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมวัฒนธรรม 
เพื่อสร้างเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากกระทรวงวัฒนธรรม 
และโครงการสนับสนุนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจากมูลนิธิโตเกียว
 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
------------------------------------------

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รัชนีภรณ์ เรืองดิษยรัตน์ 02 2146630-8 # 519
สรินดา นันทรุช 02 2146639-8 # 530

----------------------------------------


ศิลปิน: ฮะจิยะ คาซุฮิโกะ
ชื่อผลงาน: Airboard β
ปีสร้าง: 2542
เทคนิค: เครื่องยนต์ขับเคลื่อนระบบเทอร์โบเจ็ท /
เชื้อเพลิง / อลูมิเนียม / เหล็กกันสนิม
คาร์บอน / งานคัสตอมเพ้นท์ (โดยศิลปิน
คุราชินะ มะซะทากะ จามกลุ่มบันไซ
เพ้นท์) และอื่นๆ
ขนาด(ซ.ม.): 220 x 50 x 30

ARTIST: HACHIYA Kazuhiko
TITLE: Airboard β
YEAR: 1999
TECHNIQUE: Turbojet engine, fuel, aluminum, stainless steel, carbon, custom paint (KURASHINA Masataka, Bonzai Paint) etc.
DIMENSION (CM.): 220 x 50 x 30

---------------------


ศิลปิน: อะดาจิ คีจิโร
ชื่อผลงาน: e.e.no.24
ปีสร้าง : 2547/2551
เทคนิค: สื่อผสม (ตู้โทรศัพท์ / ดนตรี / วีดีโอ)
ขนาด(ซ.ม.): 257 x 98 x 97

ARTIST: ADACHI Kiichiro
TITLE : e.e.no.24
YEAR: 2004/2008
TECHNIQUE: Mixed media
(telephone box, music, video)
DIMENSION (CM.): 257 x 98 x 97

----------------------


ศิลปิน: นาวะ โคเฮ
ชื่อผลงาน: PixCell-Deer#17
ปีสร้าง: 2551-2552
เทคนิค: สื่อผสม (สัตว์ที่ถูกสตั๊ฟไว้ / ลูกแก้ว และะอื่นๆ)
ขนาด(ซ.ม.): 200 ×170 ×150

ARTIST: NAWA Kohei
TITLE: PixCell-Deer#17
YEAR : 2008-2009
TECHNIQUE: Mixed media
(stuffed animal, glass beats etc.)
DIMENSION (CM.): 200 ×170 ×150

----------------------
สอบถามรายละเอียด หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 
โทรศัพท์ 02-214-6630-8 
วันอังคารถึงวันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์)


Press Release

Trans-Cool TOKYO

Contemporary Japanese Art from MOT Collection

25 February to 28 March 2010


Gallery Floor 7th, Bangkok Art and Culture Centre, Pathumwan Junction Ministry of Culture in corporation with Bangkok Art and Culture Centre and Museum of Contemporary Art Tokyo proudly present Trans-Cool TOKYO the exhibition consists of over 30 works selected from the 4000 piece-collection of the Museum of Contemporary Art, Tokyo. The main thrust of the exhibition focuses on the work of artists of Yoshitomo Nara's generation or younger, emerging in the 1990s. Using various styles, they are characterized by their attempts to express the instabilities evident in contemporary notions of identity and relationships, which have arisen from the onset of the information age and the greater freedoms and uncertainties that mature capitalism and its allowance of diverse value systems has occasioned.


-------------------------------------------------


Trans-Cool TOKYO
Contemporary Japanese Art from MOT Collection

Ministry of Culture in corperation with Bangkok Art and Culture Centre and Museum of Contemporary Art Tokyo proudly present Trans-Cool TOKYO the exhibition consists of over 30 works selected from the 4000 piece-collection of the Museum of Contemporary Art, Tokyo. This exhibition is a part of the Ministry of Culture's creative economy projects demonstrating the potential of contemporary art as cultural assets to creative industry, and a program of the Tokyo Metropolitan Foundation for History and Culture's Tokyo Culture Creation Project.
From Yayoi Kusama's pioneering works of Japanese Pop Art to Yasumasa Morimura's role-playing in multiple identity-expressing portraits from the 1980s, the exhibition provides an opportunity to review works by these groundbreaking artists yielding context for examining how Japanese artists since the second half of the 1990s have established their own creative identities within the context of pop culture. The main thrust of the exhibition focuses on the work of artists of Yoshitomo Nara's generation or younger, emerging in the 1990s. Using various styles, they are characterized by their attempts to express the instabilities evident in contemporary notions of identity and relationships, which have arisen from the onset of the information age and the greater freedoms and uncertainties that mature capitalism and its allowance of diverse value systems has occasioned.
The exhibition can be divided broadly into three sections. The first includes work based on comics, science fiction, robots and the like – Japan's newest narratives and pop icons. Among the artists represented are Yoshitomo Nara, Takashi Murakami, and Mika Kato, who makes minutely detailed paintings of dolls she has constructed herself. The second section features artists who seek out new identities within the context of globalization. They make conceptual documentation, interventions, and proposals regarding existing social situations. Artists who fall into this category include: Kazuhiko Hachiya, who with a critical perspective proposes new devices for life in the not-to-distant future; and video artist Koki Tanaka. The third section includes artists who base their work on their own personal emotions and events in everyday life. For them the conceptual framework of Pop Art functions as a kind of survival tool – a means to maintain ones sensibility, identity and a degree of interaction with the surrounding world. For example, Zon Ito spins episodes from dreams in his embroidery work, Kyoko Murase who works in a genre of an introspective expressionism and Haruka Kojin makes fantastical scenes using petals from artificial flowers. This section also includes cross-disciplinary work from the likes of Kiichiro Adachi, who has turned a disused telephone box into a one-man disco, and Masakatsu Takagi, who started with video jockey work and now animates paintings in making works combining video and music.
Taken as a whole, this exhibition reveals a particular attitude palpable in these young creators – maintaining a degree of skepticism while interpreting and being receptive to the present age through the medium of its pop culture. It is the organizer's hope that through contemporary art this exhibition will reach beyond Tokyo to contribute to the process of forming identities and fostering communication throughout Asia.
-----------------------------------------

For Further information
Rachaneeporn R. Tel. 02 2146630-8 # 519
Sarinda N. Tel. 02 2146639-8 # 530

THAILAN

ปราบดา หยุ่น

      ได้ยินมาว่าศิลปินร่วมสมัยในเอเชียแทบทุกคน ทั้งที่ชื่อดังและชื่อดับ เมื่อมาญี่ปุ่น ต้องเคยแวะมาจิบของมึนเมาที่บาร์ขนาดเล็กมาก (เล็กจนน่าจะเรียก "ซอก" "หลืบ" หรือ "ร่อง" มากกว่า) ชื่อ Traumaris ซึ่งซุกอยู่ใจกลางย่านรปปงหงิ แห่งกรุงโตเกียว
      หาก นาวะ โคเฮ ศิลปินวัย ๒๙ ที่กำลังเริ่มโด่งดังในแวดวงศิลปะญี่ปุ่น ไม่เอ่ยปากชักชวนและนำทางผมไปที่นั่นด้วยตัวเอง ต่อให้เดินหากี่สิบรอบ ผมคงไม่มีทางเจอแม้แต่ประตูหน้าของบาร์ มันเป็นเพียงกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนกำแพงข้างถนน ไม่มีไฟ ไม่มีป้าย (หรือถ้ามี ก็อยู่ในสภาพล่องหนต่อสายตา) ไม่มีอะไรบอกใบ้ว่า เมื่อประตูบานนั้นถูกเปิดออก จะปรากฏภาพเคาน์เตอร์พร้อมคนหนุ่มสาวนับสิบ นั่งเบียดกายสังสรรค์กันอยู่อย่างอบอุ่น
      เราก้าวเข้าประตู ทิ้งไออากาศยะเยือกผิวของเดือนธันวาคมไว้เบื้องนอก เจ้าของบาร์ยืนยิ้มรับแขกอยู่หลังเคาน์เตอร์ นอกจากจะเป็นเจ้าของบาร์ เธอผู้นี้ยังเป็นนักเขียนเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมให้นิตยสารบางฉบับ และเป็นเสมือน "พี่สาว" ผู้หนุนหลังศิลปินรุ่นใหม่หลายคน รวมทั้งโคเฮ เพื่อนที่ผมเพิ่งรู้จักได้ไม่ถึง ๒๔ ชั่วโมง
      อุณหภูมิภายในบาร์สูงกว่าข้างนอกหลายขีด ผมอยากถอดแจ็กเกตลูกฟูกที่สวมอยู่ออก แต่เมื่อสำรวจด้วยตาอย่างคร่าว ๆ แล้วว่า ที่เดียวที่ว่างพอจะวางเสื้อได้คือพื้น จึงทำใจใส่ความอ้าวนั้นไว้กับตัว
      "นั่นไง งานของผม" โคเฮสะกิดให้ผมมองไปยังผนังหลังเคาน์เตอร์ เหนือชั้นวางขวดแอลกอฮอล์หลากสีหลายสกุล
      งานที่ว่า คือหัวกวางสตัฟฟ์ (ประเภทเดียวกับที่อาจพบเห็นบนผนังบ้านนักล่าสัตว์) ที่ผ่านการ "วาดใหม่" โดยโคเฮ เขาใช้ลูกแก้วใสจำนวนหลายร้อยเม็ด ประกอบกลบหัวกวางทั้งหมด จนทำให้หัวกวางสตัฟฟ์ธรรมดา กลายเป็นประติมากรรมแปลกตา เหมือนวัตถุที่ถูกปรับสภาพโดยคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งที่ถูกมองผ่านหยดน้ำ เม็ดฝน หรือดวงตาแมลงวัน
      นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โคเฮชวนผมมานั่งเล่นที่บาร์นี้
      แม้จะเริ่มแสดงงานตามแกลเลอรีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๙๙ แต่ชื่อของโคเฮเริ่มเป็นที่กล่าวถึงกว้างขึ้นจากกลุ่มงานที่เขาใช้ชื่อว่า "PixCell" ในปี ๒๐๐๓-ลูกแก้วเคลือบหัวกวางที่ผมนั่งมองพลางจิบจินโทนิกในมือ ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคนิคเดียวกับที่โคเฮใช้สร้างกลุ่มงานที่นำชื่อเสียงมาให้ เขาในคราวนั้น
      โคเฮเคลือบกลบวัตถุต่างๆ ด้วยลูกแก้วใสเหมือนคนโรคจิตติดลูกแก้ว ตั้งแต่ของเล็ก ๆ ที่ใช้ลูกแก้วเพียงไม่กี่สิบลูก อย่างก้นบุหรี่ที่สูบแล้ว ไปจนถึงแกะสตัฟฟ์ทั้งตัว ซึ่งน่าจะใช้ลูกแก้วสิ้นเปลืองไปหลายหมื่นเม็ด ผมไม่ได้ไต่ถามว่าเขามีความหลังฝังใจอะไรกับลูกแก้วหรือเปล่า เช่นอาจจะถูกเพื่อนกระหน่ำยิงด้วยลูกแก้ว หรือพ่อแม่อาจจะเลี้ยงเขาด้วยลูกแก้วแทนข้าวปลาอาหาร รู้แต่ว่า ในสายตาของคนมอง มันทำให้เกิดความรู้สึกสองอย่าง หนึ่ง คือโคเฮคงจะเป็นคนเจ้าระเบียบหรือละเอียดเอามาก ๆ เข้าขั้น "perfectionist" หรือคนที่เนี้ยบเสียจนไม่ยอมแม้จะเห็นละอองฝุ่นบนพื้นแม้แต่เม็ดเดียว เพราะงานทุกชิ้นของเขาถูกสร้างอย่างพิถีพิถัน ระมัดระวัง และสะอาดสะอ้าน คำว่า "ชุ่ย" "กระท่อนกระแท่น" หรือ "กะรุ่งกะริ่ง" ล้วนเป็นคำต้องห้ามในโลกของโคเฮ ทุกอย่างที่เขาแตะ ต้องสำเร็จในลักษณะตรงตามความหมายของคำว่า "เสร็จสมบูรณ์"


      อีกความรู้สึกหนึ่ง (ซึ่งออกแนวความสงสัยมากกว่า) ก็คือ เขาไม่ค่อยพอใจกับภาพที่เขาเห็นในโลกขนาดนั้นเชียวหรือ จึงต้องตรากตรำทำให้มันแปรสภาพเป็นอย่างอื่น
      งานลูกแก้วเคลือบวัตถุของโคเฮ นอกจากจะสวยสะดุดตา และมีเสน่ห์พิลึกสำหรับผู้พบเห็นตามความน่าจะเป็นของ "ทัศนศิลป์" ยังผสมผสานอารมณ์ขัน (ตุ๊กตามิกกี้เมาส์เคลือบลูกแก้วของเขาน่ารักไม่ใช่เล่น) ทำให้เนื้อหาในงานไม่โหวงเหวงจนเกินไป นักมองบางคนที่เรียกร้อง "ความหมาย" และ "บทบาท" จากงานศิลปะ อาจนึกหยามงานของโคเฮว่าเสนอแต่เรื่องของสุนทรียศาสตร์ ปราศจากบทวิพากษ์สังคมหรือปรัชญาเชิงวิชาการใด ๆ ทั้งสิ้น แต่สำหรับผม มันคือการสานต่อของขนบทางศิลปะที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติ วิธีการและเครื่องมือสร้างสรรค์ มุมมองต่อโลก ไปจนถึงการใช้สอยช่วงเวลาแห่งความโดดเดี่ยว ที่ล้วนน่าประทับใจในลักษณะของมันเอง
      โคเฮไม่มีผู้ช่วย ดังนั้นการเคลือบวัตถุขนาดใหญ่อย่างแกะหนึ่งตัว ด้วยลูกแก้วใสเม็ดเล็ก ๆ ทีละเม็ด ย่อมต้องกินเวลาไม่น้อย เวลาแห่งความโดดเดี่ยวอย่างนี้เคยเป็น "สมบัติเลอค่า" ส่วนตัว ที่ผู้สร้างศิลปะต่างศรัทธาถึงขั้นโหยหา เหมือนที่ผู้บำเพ็ญธรรมพยายามใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนั่งสมาธิ ทว่าในยุคของศิลปะร่วมสมัย มันกลายเป็นปัจจัยไร้ค่าที่เทียบได้กับการบรรจงเขียนหนังสือด้วยมือ แทนที่จะพิมพ์บนคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ หรือการให้เวลาศึกษาและฝึกปรือทำกับข้าวกินเอง แทนที่จะควักเงินซื้อของสำเร็จรูปข้างถนนและนั่งสั่งตามร้านอาหาร
      นั่นคือ ขั้นตอน (process) ถูกจัดตำแหน่งเป็นรองผลิตผล (product) ไปเสียแล้ว-มันเป็นคลื่นเขมือบของยุคอุตสาหกรรมที่ก้าวย่ำลงในทัศนคติของคน เกือบทุกวงการ รวมถึงศิลปะ วงการที่ควรจะเข้าใจในความสำคัญลึกซึ้งของการเรียนรู้รายละเอียดที่สุดวงการ หนึ่ง (ไม่นับว่าน่าจะเป็นวงการรวมนักขบถที่ไม่ควรอนุญาตให้ปัจจัยในสังคมครอบงำ มากนัก) ก็คล้อยตามและยินยอมให้ "ระบบ" บงการความเคลื่อนไหว มากกว่าจะพยายามค้นคว้าหาหนทางใหม่ ๆ อย่างที่โลกแห่งศิลปะเคยพยายามอย่างภาคภูมิใจมาหลายสมัย
      ผมแก่กว่าโคเฮเล็กน้อย (วัดจากน้ำเสียงและรอบเอว) และเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ถูกปรับเพื่อความสะดวกรวดเร็ว ผมชื่นชอบนักเขียนทุกท่านที่ยังตรากตรำทำงานด้วยลายมือของตัวเอง นิ้วจับดินสอปากกา บรรจงร่ายต้นฉบับทีละตัว แล้วยังทวนทานเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องอีกหลายครั้งด้วยวิธีเดียวกัน ตัวผมเองทำอย่างนั้นไม่ได้มาตั้งแต่เริ่มทำงานด้วยพิมพ์ดีด และหากอยากจะย้อนกลับไปสู่วันวานของการ "เขียน" ที่แท้จริง คงต้องใช้เวลาฝึกปรือไม่น้อยกว่าจะชำนาญ และกว่าจะปลดเปลื้องความหงุดหงิดของตัวเอง (ที่ทำงานเชื่องช้า) ออกไปได้หมด-นอกจากนั้น ระบบการ "พิมพ์" หนังสือ บังคับว่าต้องมีใครสักคนนำต้นฉบับลายมือของผมไปพิมพ์เข้าคอมพิวเตอร์อีก ครั้งอยู่ดี การเขียนด้วยคอมพิวเตอร์แต่แรกจึงช่วยประหยัดเวลาและบุคลากร แม้จะเห็นความงดงามของการเขียนด้วยมือเพียงไร ระบบการผลิตก็สนับสนุนว่าการใช้คอมพิวเตอร์มีเหตุผลรองรับที่เป็นประโยชน์ กว่ามาก
      เช่นเดียวกับการสร้างงานศิลปะในปัจจุบัน ที่หากศิลปินต้องการ "ผลิต" วัตถุใดก็ตาม ก็สามารถประหยัดเวลาและถนอมกำลังกายได้โดยวิธีว่าจ้างคนอื่น เพราะคุณค่าของงานศิลปะไม่ได้ถูกตัดสินจากขั้นตอนการใช้ "เวลา" หรือความพัฒนาด้าน "ฝีมือ" ของตัวศิลปินอีกต่อไป
      งานกลุ่ม "PixCell" ของโคเฮจึงไม่ได้สะดุดตาผมเพราะความงดงาม เท่ากับที่ทำให้ผมรู้สึกทึ่งและประทับใจในความสัมพันธ์ระหว่างความร่วมสมัย กับการเชื่อมโยงถึงขนบของทัศนศิลป์ ที่คนหนุ่มอย่างโคเฮสามารถสะท้อนด้วยงานของเขาได้อย่างลงตัว


      "นี่ก็งานของผม อันนี้ใหม่กว่าหัวกวาง" ไหล่อุ่น ๆ ของผมโดนโคเฮสะกิดอีกครั้ง คราวนี้ผมต้องหันกลับไปมองผนังด้านหลัง ซึ่งอยู่ใกล้มากจนแทบชนปลายจมูก
      ผิวปูนของผนังบาร์ มีเยื่อแปลก ๆ สีขาวใสเคลือบเกาะอยู่เป็นหย่อม มันดูคล้ายใยแมงมุมที่ทำด้วยแก้ว หรือรอยแตกร้าวบนแผ่นกระจก
      "ผมใช้ปืนกาวยิงกาวออกมา แล้ววาดเส้นกาวที่ยังเหลว ๆ ลงบนผนัง ให้มันค่อยๆ แห้งเกาะตัวเป็นภาพ" โคเฮอธิบาย เขาเสริมว่ามันคืองาน "วาดเขียน" (drawing) ที่ทดลองใช้เครื่องมือการวาดแตกต่างไปจากดินสอ ปากกา พู่กัน หรืออะไรก็ตามที่คนจะนึกถึงเมื่อได้ยินคำว่า "รูปวาด" คำพูดของโคเฮทำให้ผมพลันคิดขึ้นได้ว่า อันที่จริงแล้ว งานแทบทุกชิ้นของเขา ล้วนเป็นงานวาดทั้งสิ้น แต่เป็นการวาดแบบทดลอง เป็นการวาดด้วยลูกแก้ว วาดด้วยกาว วาดด้วย "สายตา" ที่ไม่ยึดติดกับเครื่องมือ ทว่ายังคงรักษาคุณสมบัติความเป็น "ภาพวาด" อยู่ครบถ้วน
      ปืนกาวเป็นเครื่องมือช่างที่ศิลปินจำนวนมากคุ้นเคย โดยเฉพาะผู้จำเป็นต้องประกอบวัสดุหรือติดตั้งบางอย่างด้วยความรวดเร็วเกิน กว่าจะค่อย ๆ บีบกาวจากหลอดหรือปาดใช้จากกระปุกทีละน้อย แต่อาจมีหลายคนไม่รู้จัก และพานนึกถึงความรุนแรงอันตรายจากคำว่า "ปืน" ทั้ง ๆ ที่มันไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ซับซ้อนอะไรเลย เป็นเพียงอุปกรณ์สร้างความร้อนที่มีหน้าตาคล้ายกระบอกปืนหัวแหลม ๆ มีรูสำหรับสอดใส่แท่งกาว (ซึ่งต้องซื้อแยกต่างหาก และซื้อเติมได้เสมอ) เข้าด้านหลัง เมื่อต้องการใช้ ก็เสียบปลั๊ก รอให้ปืนร้อน ดันแท่งกาวเข้าไป ส่วนหัวของแท่งกาวจะค่อย ๆ ละลาย ไหลออกหัวปืน เป็นเส้นใสเหนียวหนืด และพร้อมจะแข็งตัวหลังปะทะอากาศไม่กี่วินาที
      งาน "วาดกาว" ของโคเฮไม่ได้มีแต่ในบาร์เล็ก ๆ แห่งนี้ เขาสร้างงานลักษณะเดียวกันหลายชิ้น และจัดแสดงในแกลเลอรีที่เมืองโอซาก้ามาแล้ว ชื่องาน "Catalyst" แปลความหมายตามพจนานุกรมว่า "สารกระตุ้นปฏิกิริยา"


      โคเฮอาจหมายถึงกาวที่เขาใช้ หรืออาจหมายถึงผลงานโดยรวม ซึ่งกระตุ้นสายตาคนมองให้เกิดปฏิกิริยาสนเท่ห์ จนต้องถามว่า "นี่มันอะไรกัน"
      เช่นเดียวกับการเคลือบแกะทั้งตัวด้วยลูกแก้ว การใช้กาวเหลววาดภาพบนพื้นผิว (บางชิ้นใหญ่เกือบเท่าผนังแกลเลอรี) ต้องใช้เวลาสร้างนานพอสมควร ผมนึกภาพโคเฮยืนถือปืนกาวในมือ ใบหน้าเผชิญพื้นผิวโล่งว่าง พลางบรรจงประกบเส้นเหนียวลงบนผิวนั้นช้า ๆ ค่อย ๆ ลากมือห่างออกจากการแข็งตัวของกาว จนมันโยงเยื่อขยายใหญ่เป็นภาพประหลาด เหมือนหยากไย่ยักษ์ที่เกิดจากแมงมุมต่างดาว
      คาวบอยชักปืนขึ้นมาละเมียด "วาด" ด้วยกระสุนของเวลา
      เป็นการต่อสู้ที่เงียบสงบสวยงาม
      คำถามในหัวของผม ที่ว่า นาวะ โคเฮ จงเกลียดจงชังความจริงของโลกอะไรนักหนา จึงต้องพยายามปรับเปลี่ยนวัตถุทุกอย่างให้เป็นรูปแบบของเขาเอง กลายเป็นคำถามไร้ค่า น่าอับอายแม้แต่จะคิด เกี่ยวกับหนุ่มผู้พอใจจะใช้เวลาทั้งหมดที่เขามีในโลกนี้ ไปกับการทำความรู้จักรายละเอียดและคุณสมบัติต่าง ๆ ของทุกวัตถุอย่างบรรจง
      นี่คือการมี "ปฏิกิริยา" ต่อธรรมชาติที่ละเมียดละไมที่สุดวิธีหนึ่ง
      ในไม่กี่เดือนข้างหน้า โคเฮจะมาประเทศไทย เขาได้ทุนเดินทางหาประสบการณ์และตักตวงแรงบันดาลใจในต่างประเทศ โคเฮเลือกเมืองไทย เพราะเขาชอบมวยไทย-เป็นข้อมูลที่ทำให้ผมยิ้มด้วยความเอ็นดูปนประหลาดใจ


      ผมถามเขาว่า อยากทำอะไรที่เมืองไทยเป็นพิเศษ
      "คุณรู้จักโทนี่ จาไหม" โคเฮถาม เขาหมายถึงจา-พนม ยีรัมย์ จากภาพยนตร์เรื่อง องค์บาก ที่สร้างความฮือฮาในต่างประเทศภายใต้ชื่อ Tony Jaa จนบางคนยกยอให้เป็น "บรูซ ลี ของยุคสมัยนี้"
      "รู้ แต่ไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว" ผมตอบ
      "สิ่งที่ผมอยากทำที่สุดในเมืองไทย คือเจอโทนี่ จา" โคเฮกล่าวด้วยน้ำเสียงแน่วแน่
      ผมไม่ได้ถาม ว่าเขาอยากเจอจา พนม ในลักษณะ "แฟนหนัง" ที่ต้องการเพียงเห็นตัวเป็นๆ หรือขอลายเซ็นเก็บไว้เป็นที่ระลึก
      หรืออยากเจอเพื่อ "เคลือบ" คุณจาด้วยลูกแก้วใสนับหมื่นนับแสนเม็ดด้วยความประณีตงดงาม เหมือนที่เขาทำกับหัวกวางอันนั้น

Thanks available from:
1.ARTgazine Articles
ความรอบรู้ ในบริบทแห่งศิลปะ http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?p=10924&sid=7b353cad5f4fde47e9ac4c3b829c8f8a
2.art4d - theBlog http://www.art4d.com/thai/index_iframe1.php?catid=5&show=listcat&type=article
3.
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=foneko&month=09-2009&date=24&group=2&gblog=445.
4.http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=261.9( search on 7/3/2553)

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

Check out ละครศรีธรรมาโศกราช

Title: ละครศรีธรรมาโศกราช
Link: http://gotaf.socialtwist.com/redirect?l=-360677300343614405611